วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

3.2 พันธะไอออนิก

3.2 พันธะไอออนิก


พันธะไอออนิก ( Ionic bond )
     หมายถึง พันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพอิออน
ที่มีประจุตรงกันข้ามกัน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน 
11 ตัว หรือมากกว่า จากอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหนึ่ง
ไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด 
ครบออกเตต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะ
 โดยที่โลหะเป็นฝ่ายจ่ายอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดให้กับอโลหะ
     เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ 
และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ดังนั้นพันธะไอออนิก
จึงเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะได้ดี กล่างคือ 
อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ 
แล้วเกิดเป็นไอออนบวกและไอออยลบของอโลหะ
 เพื่อให้เวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด แบบก๊าซเฉื่อย 
ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเอง
ให้เสถียรแบบก๊าซเฉื่อยเช่นกัน ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดระหว่าง
ประจุไฟฟ้าต่างกันเกิดเป็น สารประกอบ
ไอออนิก( Ionic compuond) ดังนี้





 การเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ( NaCl ) จากโซเดียม (Na) อะตอมกับคลอรีน (Cl) อะตอม



    โซเดียมเสียอิเล็กตรอนให้แก่คลอรีน 1 ตัว ทำให้อะตอมของ
ซเดียมมีเวเลนต์อิเล็กตรอน= 8 (อะตอมจะเสถียรเป็นไปตามกฎออกเตต)
และทำให้มีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน1ตัว
ทำให้อะตอมโซเดียมแสดงอำนาจไฟ เป็นประจุบวก(+) 
ส่วนอะตอมคลอรีนรับอิเล็กจากโซเดียมมา 1
 ตัวทำให้อะตอมของคลอรีนมีเวเลนต์อิเล็กตรอน=8
(อะตอมเสถียรเป็นไปตามกฎออกเตต) 
และทำให้มีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตรอน 1 ตัว 
ทำให้อะตอมคลอรีนแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นประลบ(-)

โซเดียมอิออนบวก(+) และคลอไรด์อิออน
 (-) จะดึงดูดกัน เพราะมีประจุไฟฟ้าทีต่างกัน เกิดเป็น "พันธะไอออนิก"
  การเกิดสารประกอบแมกนีเซียมคลอไรด์ จากแมกนีเซียมอะตอม(Mq) และคลอรีนอะตอม(Cl)



     อะตอมแมกนีเซียมมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น Mg = 28
แมกนีเซียมมีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 2 ดังนั้น แมกนีเซียม
จะจ่ายอิเล็กตรอนให้แก่คลอรีนอะตอม 2 ตัว เพื่อให้เ
วเลนต์อิเล็กตรอนเป็น 8 จึงจะเสถียรเหมือนก๊าซเฉื่อย
 ทำให้อะตอมของแมกนีเซียมมีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่า
โปรตอน 2 ตัว จึงแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นประจุ 2+



     แมกนีเซียมไอออนบวก(Mq 2+)และคลอไรด์ไอออนลบ(Cl -)
 จะเกิดแรงดึงดูดกัน เพราะมีประจุไฟฟ้าต่างกันเป็นโมเลกุลของแมกนีเซียมคลอไรด์



การเกิดพันธะไอออนิกในสารประกอบ แบเรียมออกไซด์ ( BaO )


     การจัดเรียงอิเล็กตรอนของแบเรียม Ba = 28181882
Ba มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 2) และการจัดเรียงอิเล็กตรอนของออกซิเจน O = 26
มีเวเลนต์อิเล็กตรอน = 6 ) Ba เสียอิอล็กตรอนให้ จำนวน 2 ตัว Ba จึงมีประจุเป็น 2+ ส่วน ได้รับอิเล็กตรอนมา2 ตัว จึงมีประจุไฟฟ้าเป็น 2- เกิดแรงยึดเหนี่ยวด้วยประจุไฟฟ้าต่างกัน เป็นโมเลกุลของแบเรียมออกไซด์
 ลักษณะสำคัญของสารประกอบไอออนิก
     1. พันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดจาก ไอออนของโลหะ + ไอออนของอโลหะ เช่น NaCl, MgO, KI
     2. พันธะไอออนิก อาจเป็นพันธะเคมีที่เกิดจากธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำกับธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง
     3. พันธะไอออนิก อาจเป็นพันธะที่เกิดจากไอออบวกที่เป็นกลุ่มอะตอมของอโลหะ เช่น



     4. สารประกอบไอออนิกไม่มีสูตรโมเลกุล มีแต่สตรเอมพิริคัล ( สูตรอย่างง่าย )
     5.สารประกอบไอออนิกมีจุดดือดและจุดหลอมเหลวสูง
     6. สารประกอบไอออนิกในภาวะปกติเป็นของแข็ง ประกอบไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนเหล่านี้ไม่เคลื่อนที่ ดังนั้นจึงไม่นำไฟฟ้า แต่เมื่อหลอมเหลวหรือละลายน้ำ จะแตกตัวเป็นอิออนและเคลื่อที่ได้ เกิดเป็นสารอิเล็กโทรไลดต์จึงนำไฟฟ้าได้
โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก

     โครงสร้างของสารประกอบไอออนิกมีลักษณะเป็นโครงผลึกร่างตาข่าย ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบสลับกัน ไม่สามารถแบ่งแยกเป็นโมเลกุลเดี่ยวๆได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถทราบขอบเขตของไอออนของธาตุต่างๆใน 1 โมเลกุลได้ แต่สามารถหาอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนที่เป็นองค์ประกอบเท่านั้น จึงไม่สามารถเขียนสูตรโมเลกุลของสารประกอบไอออนิกได้ ใช้สูตรเอมพิริคัลแทนสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิก
     เมื่อโลหะทำปฏิกิริยากับอโลหะ ธาตุทั้งสองจะรวมกันด้วยพันธะไอออนิกเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก โดยอะตอมของโลหะจะให้(จ่าย,เสีย)เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของอโลหะ ดังนั้นธาตุหมู่ 1ซึ่งมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุ +1 ธาตุหมู่ 2 ซึ่งมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เมื่อเกิดเป็นไอออนจะมีประจุ +2 เป็นต้น ส่วนอโลหะซึ่งมีจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนใกล้เคียงกับก๊าซเฉื่อยจะรับอิเล็กตรอนมาให้ครบแปด เช่น ธาตุหมู่ 7จะรับอิเล็กตรอน 1 ตัว เมื่อกลายเป็นไอออนจะมีประจุ -1 สำหรับธาตุหมู่ 5 และหมู่ 6 เมื่อเกิดเป็นไอออนจะมีประจุ -3 และ -2ตามลำดับ เนื่องจากสามารถรับอิเล็กตรอนได้ 3 และ 2 อิเล็กตรอนแล้วมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนตามกฎออกเตต
การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
ธาตุหมู่
I
II
II
IV
V
VI
VII
ประจุบนไอออน
+1
+2
+3
-4
-3
-2
-1


     ก. การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก ใช้หลักดังนี้
     1. เขียนไอออนบวกของโลหะหรือกลุ่มไอออนบวกไว้ข้างหน้า ตามด้วยไอออนลบของอโลหะหรือกลุ่มไอออนลบ
     2. ไอออนบวกและไอออนลบ จะรวมกันในอัตราส่วนที่ทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์ ดังนั้นจึงต้องหาตัวเลขมาคูณกับจำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบให้มีจำนวนเท่ากัน แล้วใส่ตัวเลขเหล่านั้นไว้ที่มุมขวาล่างของแต่ละไอออน ซึ่งทำได้โดยใช้จำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบคูณไขว้กัน
     3. ถ้ากลุ่มไอออนบวกหรือไอออนลบมีมากกว่า 1 กลุ่ม ให้ใส่วงเล็บ ( ) และใส่จำนวนกลุ่มไว้ที่มุมล่างขวาล่าง ดังตัวอย่าง
จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้ ก. Na+ กับ O2- ข. Ca2+ กับ Cl- ค. NH4+ กับ SO42-


    ข. การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
 1. สารประกอบธาตุคู่ ถ้าสารประกอบเกิดจาก ธาตุโลหะที่มีไอออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น
     -ออกซิเจน เปลี่ยนเป็น ออกไซด์ (oxide)
     -ไฮโดรเจน เปลี่ยนเป็น ไฮไดรด์ (hydride)
     -คลอรีน เปลี่ยนเป็น คลอไรด์ (chloride)
     -ไอโอดีน เปลี่ยนเป็น ไอโอไดด์ (iodide)
NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloridr)
CaI2 อ่านว่า แคลเซียมไอโอไดด์ (Calcium iodide)
KBr อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์ (Potascium bromide)
CaCl2 อ่านว่า แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride)

ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกธาตุคู่
     ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดีนวกันที่มีไอออนได้หลายชนิด รวมตัวกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วยค่าประจุของไอออนของโลหะโดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น Fe เกิดไอออนได้ 2 ชนิดคือ Fe 2+ และ Fe 3+ และCu เกิดอิออนได้ 2 ชนิดคือ Cu + และ Cu 2+ สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่านชื่อ ดังนี้
FeCl2 อ่านว่า ไอร์ออน (II) คลอไรด์ ( Iron (II) chloride )
CuS อ่านว่า คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์ ( Cupper (I) sunfide )
FeCl3 อ่านว่า ไอร์ออน (III) คลอไรด์ ( Iron (III) chloride )
Cu2อ่านว่า คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์ ( Copper (II) sunfide )
     2. สารประกอบธาตุสามหรือมากกว่า ถ้าสารประกอบเกิดจากไอออนบวกของโลหะ หรือกลุ่มไอออนบวกรวม
ตัวกับกลุ่มไอออนลบ ให้อ่านชื่อไอออนบวกของโลหะหรือชื่อกลุ่มไอออนบวก แล้วตามด้วยกลุ่มไอออนลบ เช่น
CaCO3 อ่านว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต (Calcium carbonatX
KNO3 อ่านว่า โพแทสเซียมไนเตรต (Potascium nitrae)
Ba(OH)2 อ่านว่า แบเรียมไฮดรอกไซด์ (Barium hydroxide)
(NH4)3PO4 อ่านว่า แอมโมเนียมฟอสเฟต (Ammomium pospate)

การละลายของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกบางชนิดละลายน้ำได้ดีและบางชนิดไม่ละลายน้ำ การที่สารประกอบไอออนิกละลายน้ำได้เนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับไอออนมีค่ามากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบ เช่น เมื่อนำโซเดียมคลอไรด์มาละลายในน้ำ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโซเดียมไอออน และน้ำกับคลอไรด์ไอออนมีค่าสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนทั้งสอง โซเดียมคลอไรด์จึงละลายน้ำได้ เมื่อไอออนเหล่านี้หลุดออกจากโครงสร้างเดิม แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำหลายๆโมเลกุล โดยน้ำจะหันขั้วที่มีประจุตรงกันข้ามเข้าไอออนที่ล้อมรอบ
        ในการละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก จะมีขั้นย่อยๆของการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน ดังนี้
     ขั้นที่ 1 ผลึกของสารประกอบไอออนิกสลายตัวออกเป็นไอออนบวกและลบในภาวะก๊าซ ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานเพื่อสลายผลีก พลังงานนี้เรียกว่า พลังงานโครงร่างผลึก ( latece energy ) , E1
     ขั้นที่ 2 ไอออนบวกและไอออนลบในภาวะก๊าซรวมตัวกับน้ำ ขั้นนี้มีการคายพลังงาน พลังงานที่คายออกมาเรียกว่า พลังงานไฮเดรชัน (Hydration energy ) , E2
     พลังงานของการละลาย ( D E) มีค่า = E1 + E2 พลังงานของการละลายพิจารณาจากพลังงานโครงร่างผลึก ( E1 ) และพลังงานไฮเดรชัน( E2 ) ดังนี้
     1.ถ้าค่า D E< 0 ( E1 < E2 ) การละลายจะเป็นแบบคายพลังงาน
     2.ถ้าค่าD E > 0 ( E1 > E2 ) การละลายจะเป็นแบบดูดพลังงาน
     3.ถ้าD E = 0 ( E1 = E2 ) การละลายจะไม่คายพลังงาน
     4.ถ้า พลังงานโครงร่างผลึกมีค่ามากกว่าพลังงานไฮเดรชันมากๆ ( E>>>> E2 ) จะไม่ละลายน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบ PAT 2 พร้อมเฉลย

ข้อสอบ PAT 2